น้ำปูคืออะไร? - วนัสนันท์

น้ำปูคืออะไร?

อะไรเอ่ย…สีดำๆ แต่ลำแต๊ว่า…….

น้ำปู หรือ น้ำปู๋ หากเป็นคนเหนือต้องรู้จักแน่นอน เพราะน้ำปู๋ถือเป็นเครื่องปรุงรสอาหาร ที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ “กะปิ” แต่น้ำปู๋ของทางภาคเหนือจะสะอาดกว่ามากเพราะผ่านการต้มเคี่ยวโดยใช้เวลานานม้ากกกก น้ำปู๋ ทำมาจากปูนา และต้องใช้ปูที่ยังมีชีวิตเท่านั้น ไม่อย่างนั้นน้ำปู๋ที่ได้จะมีกลิ่นเหม็น กรรมวิธีการทำก็จะเอาปูมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปโขลกกับ ใบขมิ้น และ ใบตะใคร้สดจนละเอียด แล้วก็บีบกรองเอาน้ำมันออก เพื่อนำไปหมักทิ้งใว้จนขึ้นฟองก่อนนำไปเคี่ยวกับเกลือ น้ำที่ได้จะมีลักษณะเป็นสีดำ เหนียว ซึ่งน้ำปูหรือน้ำปู่ที่ได้นิยมนำไปตำน้ำพริก อย่างที่หลายคนเรียกว่า “น้ำพริกน้ำปู” นั่นเอง และยังสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารเหนือได้หลายเมนู เช่น ตำส้มโอ ตำกระท้อน ยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ หรือบางคนเอาน้ำปู่บ่าย(ทา)กับข้าวเหนียวกินแบบนั้นได้เลยเจ้า ดังนั้นน้ำปูถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องปรุงเฉพาะของคนเหนือ ที่แต่ละบ้านจะขาดไม่ได้เลยค่ะ

ที่มาของ “น้ำปู”

รู้หรือไม่ว่า…น้ำปูเขานิยมทำกันในฤดูฝน ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ปีหนึ่งทำครั้งเดียวเท่านั้น เพราะน้ำปูในฤดูนี้จะให้รสชาติที่อร่อย หากทำนอกฤดูไปแล้วก็จะได้รสชาติที่แตกต่าง นั่นเป็นเพราะว่าความสมบูรณ์ในช่วงฤดูฝนมีมากกว่าฤดูอื่นๆ ทำให้ตัวปูมีความสมบูรณ์ไปด้วย การได้มาของปูนานั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว เพราะต้องจะอิงกับการปลูกข้าวและรอต้นกล้าข้าวแตกใบเขียว ปูนาก็เริ่มเจริญพันธุ์ และออกลูกพร้อมๆ กับต้นข้าวในช่วงเวลานั้น

แต่ปัจจุบันนี้ปูนาเริ่มหายากมากขึ้น เนื่องจากการทำนาแต่ละปี ชาวนาใช้ยาฆ่าหญ้าฆ่าแมลงกันมากขึ้น ทำให้ปูสูญหายไปจากท้องนาเป็นจำนวนมาก ซึ่งในระยะหลังจะมีการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงปูนาบ้างแล้ว แต่ก็ดูเหมือนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ดังนั้นการเลือกที่มาของวัตถุดิบจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากเราไม่ทราบที่มาของวัตถุดิบก็เสี่ยงต่อการกินน้ำปูที่ปนเปื้อนสารเคมีทางการเกษตรไปด้วยนั่นเองค่ะ

วิธีทำ “น้ำปู”

สำหรับกระบวนการทำน้ำปูนั้นวิธีการทำมีไม่กี่ขั้นตอน แต่จริงๆ แล้ว ในไม่กี่ขั้นตอนกต้องมีความความพิถีพิถันละเมียดละมัยอยู่พอสมควร เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้น้ำปูมีกลิ่นเหม็น และเก็บได้ไม่นาน สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือการคัดสรรวัตถุดิบที่สะอาด สด ใหม่ และต้องใช้ปูที่มีชีวิตเท่านั้น หากใช้ปูตายจะทำให้น้ำปูมีกลิ่นเหม็น และจุดที่ยากที่สุดของการทำน้ำปูก็คือ ใช้เวลาในการเคี่ยวน้ำปูนานมาก และต้องต้องหมั่นคนจะกระทั่งเหนียวหนืด และเวลาที่น้ำปูเดือดปุดๆ บางครั้งอาจะกระเด็นโดนแขนของคนทำอีกด้วย และข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งเวลาทำที่บ้านหรือในชุมชนชุมชนต้องระวังเรื่องกลิ่นของน้ำปูที่อาจจะทำให้บางคนเกิดอาการแพ้กลิ่นของน้ำปูได้นั่นเอง

ส่วนผสม

  1. ปูนา 3 กิโลกรัม
  2. ใบตะไคร้ซอย 6-7 ต้น
  3. ใบขมิ้นซอย 2 ถ้วย
  4. เกลือเม็ด 2 ช้อนโต๊ะ

สูตรน้ำปู – จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ บางพื้นที่จะใส่ใบฝรั่ง ใบมะกอก ใยย่านาง ฯลฯ ไปในน้ำปูด้วย

วิธีทำ

  1. นำปูนามาล้างให้สะอาด โดยแช่น้ำไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้โคลนหลุดออก
  2. ปูที่ล้างสะอาดแล้วนำไปตำกับตะไคร้ ขมิ้น ปั่นให้ละเอียด แล้วกรองเอาแต่น้ำใส่ในภาชนะหมักทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้รสชาติดีขึ้น
  3. นำไปเคี่ยวบนไฟอ่อนๆ ส่วนมากจะใช้เตาถ่านในการเคี่ยว พร้อมกับเครื่องปรุงอื่นๆ ที่ระบุไว้ข้างต้น เคี่ยวไปจนกว่าน้ำจะแห้งเหนียวข้นแล้วยกลง การเคี่ยวนั้นห้ามใช้ไฟแรงโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้น้ำปูมีกลิ่นคาว
  4. เมื่อยกลงแล้วทิ้งไว้ให้เย็น จึงตักใส่ภาชนะที่สะอาด เช่นกระป๋องพลาสติก หรือขวดปากกว้างที่มีฝาปิดมิดชิดสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน หรือนำไปจำหน่ายในท้องตลาดได้

จากวิธีทำน้ำปูข้างต้น รวมถึงการหาวัตถุดิบ สำหรับหลายคนอาจจะไม่สะดวกหรือมีเวลาทำเองขนาดนั้น ซึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับคนในยุคปัจจุบันก็สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด แต่…การเลือกซื้อน้ำปูอาจจะต้องดูแหล่งผลิตให้ดีๆ ที่น่าเชื่อถือ และมั่นใจได้ว่าแหล่งผลิตนั้นไม่ได้นำปูนาที่ปนเปื้อนสารเคมีทางการเกษตรมาทำน้ำปูด้วยนะคะ หลายๆ คนที่ชอบรับประทานน้ำปู โดยเฉพาะเมนู “น้ำพริกน้ำปู” นอกจากจะหาซื้อได้ตามท้องตลาดหรือร้านอาหารเหนือแล้ว ตอนนี้ยังสามารถหาซื้อได้จากร้านของฝากได้อีกด้วย อย่างเช่นที่ร้านวนัสนันท์เชียงใหม่ ที่มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกน้ำปู๋ สูตรดั้งเดิม ไร้สารปนเปื้อนจากสารเคมีต่างๆ ปลอดภัย 100% เนื่องจากผลิตจากปูนาเลี้ยงในฟาร์ม โดยสามารถไปเลือกซื้อได้ทุกสาขา หรือสั่งออนไลน์ได้ มีบริการจัดส่งถึงหน้าบ้านกันเลยทีเดียว

#เรื่องของกิ๋นของฝากทางเหนือไว้ในหื้อวนัสนันท์ดูแลเน้อเจ้า
#น้ำปู #น้ำพริกน้ำปู #อาหารเหนือ #ของฝากเชียงใหม่

กลับไปยังบล็อก