เห็ดเผาะ ของหา (ไม่) ยาก เป็นของฝากก็ได้ - วนัสนันท์

เห็ดเผาะ ของหา (ไม่) ยาก เป็นของฝากก็ได้

เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ ของดีหายากมีทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน ที่เมื่อก่อนจะได้กินเพียงปีละครั้ง และต้องไปเสาะหาตามในป่า แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีรวมถึงการศึกษาวิจัย ทำให้เห็ดเผาะสามารถหากินได้ตลอดทั้งปี ทั้งการเพาะเห็ดเอง หรือนำมาแปรรูปให้เห็ดเผาะสามารถเก็บไว้ได้นานแรมปี นอกจากคนที่ชื่นชอบรับประทานเห็ดเผาะจะสามารถหาซื้อได้ตลอดแล้วยังสามารถนำไปเป็นของฝากให้กับคนที่รักได้อีกด้วย

เห็ดเผาะ ทำไมจึงเป็นของหายาก

เห็ดเผาะเป็นเห็ดป่าที่หายากมากเมื่อเทียบกับเห็ดป่าชนิดอื่นๆ เห็ดเผาะจะเริ่มออกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน หรือช่วงเริ่มเข้าฤดูฝน หรืออาจจะออกปีเว้นปี หรือติดต่อกันสองสามปี หรือบางปีก็อาจจะไม่มีเห็นเผาะออกเลยในพื้นที่นั้นๆ ถามว่าทำไม เห็ดเผาะจึงเป็นเห็นที่หายาก อย่างแรกเลยเห็ดเผาะเม็ดไม่ใหญ่เหมือนเห็ดป่าอื่นๆ เวลาไปเก็บจึงมองเห็นได้ยาก และเห็ดเผาะส่วนมากจะอยู่ใต้ดินแต่ไม่ลึก น้อยมากที่จะเห็นโผล่พ้นดินออกมา เวลาไปเก็บเห็ดเผาะต้องขูดหน้าดินออกเล็กน้อยเพื่อหาดูว่าตรงใต้ดินมีเห็ดหรือเปล่า ถ้าเป็นลักษณะนี้แน่นอนว่าทั้งวันคงหาได้ไม่มาก เพราะพื้นที่ป่าก็ค่อนข้างกว้างขวาง แต่ก็จะมีอีกจุดให้สังเกตุว่าเห็ดเผาะมักจะขึ้นอยู่ใกล้บริเวณต้นไม้ใหญ่ๆ และอีกเหตุผลหนึ่ง เห็ดเผาะอาจจะไม่มีทุกปี อาจจะออกติดกัน 2-3 ปี แล้วก็ไม่มีเว้นไปปีสองปีแบบนี้ก็เป็นได้

เลือกเห็ดเผาะอย่างไร

โดยส่วนมากเห็ดเผาะที่เราเจอตามตลาดจะเป็นเห็ดใหม่ แต่ก็มีพ่อค้าแม่ค้าที่หัวหมอบางคนที่เอาเห็ดเก่ามาผสมปะปนมาขายด้วย ซึ่งเห็ดเผาะไม่สามารถแยกออกได้ด้วยตาเปล่า ต้องอาศัยประสบการณ์ในการการดม หากเป็นกลิ่นดิน ดมแล้วรู้สึกสดชื่นก็ถือว่าพอไว้ใจได้ นอกจากนี้การจับดูลักษณะภายนอกก็สำคัญ เหมือนกัน เรามีวิธีการเลือกเห็ดเผาะมาฝากดังนี้

เห็ดอ่อน

เป็นเห็ดที่ผู้คนนิยมมากที่สุด เปลือกภายนอกสีจะออกขาวๆ ไล่ไปจนถึงน้ำตาลอ่อน เมื่อลองบีบดูจะรู้สึกได้ถึงความบาง และมีความอ่อนนุ่ม กัดแล้วมีความกรุบเหมือนกระดูกอ่อน ด้านใน เนื้อจะเป็นสีขาว เนื้อนุ่ม เมื่อเคี้ยวแล้วเห็ดแตกไส้ในไหลอยู่ในปากให้ความรู้สึกฟินแบบสุดๆ เลยล่ะ

เห็ดหนุ่ม

เห็ดช่วงนี้จะมีอายุมากกว่าเกณฑ์การเป็นเห็ดอ่อนไปไม่กี่วัน เปลือกภายนอกแทบจะเหมือนเห็ดอ่อนแทบทั้งหมด ด้านใน เริ่มมีการเปลี่ยนสี และมีความแข็งตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ความฟินตอนเคี้ยวจะลดลงเพราะไส้ในบางอันก็นุ่ม บางอันก็เริ่มแข็งตัว ในสองช่วงอายุนี้จะนิยมนำไปต้มเกลือ เพราะไส้ในมีความฉ่ำ

เห็ดหนุ่มใหญ่

หลังจากพ้นช่วงเด็กน้อยมา 5-7 วัน เริ่มก้าวสู่ความเป็นหนุ่มเปลือกภายนอกสีจะเริ่มเข้มขึ้น มีความแข็งและความเหนียวเพิ่มขึ้นมาจากตอกแรกค่อนข้างเยอะ เมื่อลองบีบจะรู้สึกได้ถึงความยืดหยุ่นของเปลือกด้านใน เริ่มเปลี่ยนเป็นสีออกเทาๆ ไปจนถึงดำสนิท แต่จะยังคงความชุ่มชื้นภายในเอาไว้อยู่ เพียงแต่เนื้อไม่เหลว กินแล้วไม่ค่อยฟินเท่าเห็ดอ่อน กับเห็ดหนุ่ม

เห็ดแก่

นับเป็นระยะสุดท้ายของเห็ดเปลือกภายนอกสีจะออกน้ำตาลดำเข้ม เมื่อเอานิ้วบีบลงไปจะสามารถรู้สึกถึงความแข็ง และเหนียวได้อย่างชัดเจน ด้านใน มีความแห้ง เนื้อสีดำสนิท เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกถึงเพียงความเหนียวของเปลือก แต่ไม่ได้ความฉ่ำของเนื้อในเหมือนช่วงอายุอื่นๆ เห็ดแก่มักจะนิยมนำไปใส่แกง หรือคั่ว เพราะมีเนื้อเหนียว

เห็ดเผาะทำเมนูอะได้บ้าง

สำหรับเมนูเห็ดเผาะในแต่ละภาคก็คล้ายๆ กัน เห็ดถอบนั้นสามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายเมนู แต่เมนูยอดนิยมของคนทางเหนือนั้นก็หนีไม่พ้น “เห็ดถอบต้มเกลือ” และ “คั่วเห็ดถอบใส่ยอดมะขาม” กินพร้อมน้ำพริกอย่าง น้ำพริกข่า น้ำพริกตาแดง หรือผัดเห็ดเผาะ, แกงคั่วเห็ดเผาะ

ถ้าใครอยากลิ้มรสของเห็ดเผาะจริงๆ ส่วนมากก็จะนำมาต้มเกลือกินกับน้ำพริกข่า ก่อนน้ำเห็ดไปต้มต้องล้างให้สะอาดเสียก่อน เพราะ จะมีดินติดไปกับเห็ด อาจจะแช่เห็ดไว้ก่อนสัก 30 นาที จากน้ำก็ล้างขัดเอาดินออกให้หมด ล้างประมาณ 5-6 ครั้ง จนกว่าน้ำจะใส จากนั้นตั้งหม้อน้ำเปิดไฟแรง เติมเกลือ พอน้ำเดือดก็ต้มเห็ดเผาะประมาณ 30 นาที เห็ดก็สุกทานได้เลย หรือหากใครที่อยากลองทำเมนูแกงหน่อไม้ดองใส่เห็ดถอบ ก็สามารถดูวิธีทำตามลิงค์นี้ได้เลย

แต่หากได้เห็ดเผาะมาแต่ยังไม่ทำอาหาร แนะนำว่าอย่าเพิ่งล้างเพราะจะทำให้เห็ดเกิดการช้ำน้ำและเสียได้ง่าย ให้ห่อไว้ด้วยใบตอง หรือกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วแช่ตู้เย็นไว้ หรืออาจจะล้างทำความสะอาด เอาดินที่ติดอยู่ออกมาให้หมด จากนั้นจึงนำไปต้มในน้ำเกลือ แล้วแช่ไว้ในช่องฟรีซเก็บไว้ก็ได้

เทคโนโลยี การแปรูปเห็ดเผาะให้สามารถหากินได้ตลอดทั้งปี

อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่าเห็ดเผาะเป็นเห็ดที่ออกตามฤดูกาล และหาค่อนข้างยาก ดังนั้นเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเห็ดเผาะ ช่วงนั้นเห็ดจะมีราคาสูง สำหรับคนที่ชอบทานเห็ดเผาะและพอมีกำลังซื้อหน่อยก็อาจจะจ่ายได้แบบไม่ต้องคิดอะไร เพราะหากไม่กินตอนนี้ต้องรออีกทีปีหน้าเลยทีเดียว

แต่ปัจจุบันมีการวิจัยและพัฒนาจนสามารถเพาะเห็ดเผาะได้เอง โดยไม่ต้องไปเสี่ยงเข้าป่าลึกเพื่อเก็บเห็ดเผาะอีกต่อไป แถมยังสามารถมีให้กินได้ตลอดทั้งปี แปลกนะทั้งที่เห็ดเผาะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่เราแทบไม่พบการเพาะเห็ดชนิดนี้ เป็นเพราะว่าเห็ดเผาะจัดอยู่ในกลุ่มเห็ด ‘ไมคอร์ไรซา’ (Mycorrhiza) ต้องอาศัยอยู่กับรากต้นไม้ เลยทำให้เอามาเพาะเหมือนเห็ดทั่วไปไม่ได้ เพราะสารอาหารที่เราผสมในก้อนเห็ดยังไม่เพียงพอในการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ดชนิดนี้ วิธีการเพาะเห็ดเผาะจึงต้องอาศัยการเลียนแบบวิถีตามธรรมชาติของมันนั่นเอง

นอกจากนี้ยังการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนาทำเป็นเห็ดเผาะในน้ำเกลือบรรจุในถุงและแบบกระป๋อง ให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาไว้นาน 1 – 2 ปีเลยทีเดียว โดยไม่ใส่สารกันเสีย และคงรสชาติความอร่อยของเห็ดเผาะไว้เหมือนเดิม สนใจสั่งซื้อได้ที่นี่

สำหรับใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของเห็ดเผาะ ตอนนี้ไม่ต้องห่วงว่าปีนี้จะได้กินเห็ดเผาะหรือเปล่า เพราะมีหลายแห่งที่เขานำนวัตกรรมมาใช้เพื่อรักษาเห็ดเผาะให้เก็บไว้นานแรมปี นอกจากจะมีเห็ดเผาะให้เราได้กินตลอดทั้งปีแล้ว จริงๆในช่วงเทศกาลสำคัญหรือโอกาสสำคัญๆ เราสามารถนำเห็ดเผาะไปเป็นของฝากหรือของขวัญให้กับคนที่เรารักได้อีกด้วย

ถามว่าแล้วเห็ดเผาะสามารถหาซื้อได้จากที่ไหนบ้าง ถ้าคนเชียงใหม่ก็ลองไปที่ร้านของฝากวนัสนันท์เชียงใหม่กันดู หรือหากใครอยู่พื้นที่ อยู่ต่างจังหวัดสามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น 

แค่นี้ไม่ว่าโอกาสไหนๆ คุณก็สามารถได้ทานเห็ดเผาะ และส่งต่อความอร่อยให้กับคนที่คุณรักได้ โดยไม่ต้องรอถึงปีหน้า และเห็ดเผาะก็จะกลายเป็นของฝากที่หาไม่ยากอีกต่อไป...

#เห็ดเผาะ #เห็ดถอบ #ของฝากเชียงใหม่

กลับไปยังบล็อก